องุ่นต้องได้รับการตัดแต่งอย่างนานสุดไม่เกิน เดือน หลังการตัดแต่งครั้งที่แล้ว ถ้าไม่ตัดแต่งหรือตัดแต่งผิดวิธี จะทำให้มีผลเสียตามมามากมาย เช่น    ต้นองุ่นจะให้ผลผลิตน้อย หรือบางทีไม่มีออกดอกออกผลเลย    มีโรคและแมลงสะสม    ทรงพุ่มหลุดออกจากรูปแบบที่ต้องการ ( out of form)   มีตาดอกน้อย    การกระจายตัวของแสงในทรงพุ่มไม่สม่ำเสมอ     ลูกมีขนาดเล็กและเข้าสีไม่ดี    อีกทั้งยังทำให้การตัดแต่งกิ่งในฤดูถัดไปยากยิ่งขึ้น

การตัดแต่งทรงต้นในระยะเลี้ยงเถา

องุ่นเป็นพืชที่เจริญเติบโต และมีการแตกกิ่งก้านสาขาเร็วจึงจำเป็นต้องมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ต้นองุ่นเจริญเติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้อง ต้นองุ่นที่ปลูกเสร็จแล้วให้หาไม้รวกปักขนาบลำต้นแล้วจึงผูกต้นชิดกับเสาเพื่อบังคับให้ต้นตั้งตรง ในระหว่างนี้ตาข้างจะเจริญพร้อมกับตายอด ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้การเจริญส่วนยอดลดลง ดังนั้นจึงต้องตัดตาข้างทิ้งเสมอๆ และผูกให้ยอดองุ่นตั้งตรง เมื่อต้นองุ่นเติบโตจนมีความสูง 1.5 เมตร หรือจากยอดถึงระดับค้าง หรือเสมอระดับลวด ต้องตัดยอดทิ้ง จัดกิ่งให้อยู่ตรงข้ามกันเพื่อให้ตาข้างที่อยู่บริเวณยอดเจริญออกมา 2 ยอดตรงข้ามกัน ซึ่งจะเอาไว้ทั้ง กิ่งหรือกิ่งเดียวกันก็ได้ ถ้าเอาไว้ กิ่งให้จัดกิ่งทั้งสองอยู่ตรงข้ามกัน การไว้ทั้ง กิ่งมักพบปัญหาคือ กิ่งทั้ง เจริญเติบโตไม่เท่ากัน ทำให้การกระจายของผลไม่สม่ำเสมอกันจึงมักนิยมไว้กิ่งเพียงกิ่งเดียว คือหลังจากที่ตัดยอด และตาแตกออกมาเป็นกิ่งแล้ว ให้เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ แข็งแรงไว้เพียงกิ่งเดียว อีกกิ่งหนึ่งตัดออก กิ่งที่คงค้างไว้ของทุกต้นให้จัดกิ่งหันไปในทิศทางเดียวกันคืนหันไปทางหัวแปลงหรือท้ายแปลง หลังจากที่จัดกิ่งให้หันไปในทิศที่ต้องการแล้ว เมื่อกิ่งนั้นยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ให้ตัดยอดออก กิ่งนั้นจะแตกตาใหม่เติบโตเป็นกิ่งใหม่ กิ่งให้คงเหลือ ไว้ทั้ง กิ่ง และเมื่อกิ่งใหม่ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ก็ตัดยอดอีกและเหลือไว้ทั้ง กิ่งเช่นเดียวกัน ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งองุ่นเต็มค้างจึงหยุดการตัดยอด ในระหว่างที่ตัดยอดให้กิ่งแตกใหม่นั้น จะต้องจัดกิ่งให้กระจายเต็มค้างอย่างทั่วถึงอย่าให้ทับกันหรือซ้อนกันมาก จัดให้กิ่งอยู่บนค้างเสมอ อย่าให้กิ่งชูโด่งขึ้นไปด้านบนหรือห้อยย้อยลงด้านล่าง การจัดกิ่งให้อยู่ในที่ที่ต้องการอาจจะใช้เชือกกล้วยผูกมักกับลวดก็ได้ เพราะเชือกกล้วยจะผุเปื่อยเร็ว ทำให้การตัดแต่งกิ่งในครั้งต่อไปทำได้สะดวก กิ่งเหล่านี้เรียกว่า “เคน” ซึ่งเป็นกิ่งที่ใช้ตัดแต่งเพื่อการออกดอกต่อไป ช่วงการเจริญเติบโตของต้นองุ่นตั้งแต่ปลูกตัดแต่งทรงต้นจนต้นมีอายุพอที่จะตัดแต่งกิ่งได้เรียกว่า “ ระยะเลี้ยงเถา” ซึ่งใช้เวลาประมาณ 8-12 เดือน

การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ออกดอก

ต้นองุ่นที่นำมาปลูกในบ้านเรานั้นถ้าไม่ตัดแต่งกิ่งแล้วจะไม่ออกดอกหรือออกเพียงเล็กน้อยให้ผลที่ไม่สมบูรณ์ การจะให้ต้นองุ่นออกดอกได้ต้องตัดแต่งกิ่งช่วยหลังจากต้นองุ่นพักตัวอย่างเต็มที่แล้วและก่อนตัดแต่งกิ่ง ต้องงดการให้น้ำ วัน เพื่อให้องุ่นออกดอกได้มากอายุการตัดแต่งให้ออกดอกในครั้งแรกหรือ “มีดแรก” ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น อายุของต้น และพันธุ์ เป็นต้น เช่น

 องุ่นพันธุ์คาร์ดินัล ตัดแต่งได้เมื่ออายุ 9-10 เดือน หลังจากการปลูกในแปลงจริง

 องุ่นพันธุ์ไวท์มะละกา ตัดแต่งกิ่งได้เมื่ออายุ 10-12 เดือน หลังจากปลูกในแปลงจริง

กิ่งที่จะตัดแต่งเพื่อให้ออกดอกจะต้องเป็นกิ่งที่แก่จัด กิ่งเป็นสีน้ำตาล ใบแก่จัด ดังนั้นก่อนการตัดแต่งจะต้องงดให้น้ำ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้ต้นองุ่นพักตัวอย่างเต็มที่ การตัดแต่งให้ใช้กรรไกรตัดกิ่งช่วงสุดท้ายให้สั้นลง ความยาวของกิ่งที่เหลือขึ้นอยู่กับพันธุ์องุ่นด้วย เช่น

 พันธุ์คาร์ดินัล ให้ตัดสั้นเหลือเพียง 3-4 ตา

 พันธุ์มะละกา ให้ตัดสั้นเหลือเพียง 5-6 ตา

ถ้าเป็นกิ่งอ่อนควรเว้นตาไว้เพิ่มขึ้นและนำกิ่งที่ตัดออกจากแปลงปลูกไปเผาทิ้งหรือฝังเสีย อย่าปล่อยทิ้งไว้ใต้ต้นเพราะจะเป็นที่อยู่อาศัยของโรคแมลงต่างๆ ที่จะเข้าทำลายองุ่นได้ แล้วจึงเริ่มให้น้ำแก่ต้นองุ่น หลังจากนั้น 15 วันต้นองุ่นจะเริ่มแตกกิ่งใหม่ ซึ่งกิ่งใหม่ที่แตกออกมานี้จะมี พวกคือ พวกหนึ่งมีช่อดอกอยู่ด้วย และอีกพวกหนึ่งมีแต่ใบอย่างเดียว สามารถสังเกตได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ คือ ถ้ากิ่งไม่มีช่อดอกติดออกมาด้วยแสดงว่า กิ่งนั้นจะมีแต่ใบอย่างเดียว เพราะช่อดอกจะปรากฏอยู่บริเวณโคนกิ่งที่แตกออกมาใหม่นี้เท่านั้น ต่อจากนั้นอีก 15 วัน ดอกก็จะเริ่มบานจากโคนช่อดอกไปยังปลายช่อดอกใช้เวลา วันก็จะบานหมดทั้งช่อ ในช่วงดอกบานนั้นเป็นช่วงที่อ่อนแอ ถ้ามีฝนตกหนักอาจทำให้ดอกร่วงและเสียหายได้

การปฏิบัติหลังการตัดแต่งกิ่ง

การเลี้ยงเถาองุ่นและการตัดแต่ง องุ่นที่ปลูกในเมืองไทยจะมีอายุการออกดอกติดผลเร็วกว่าองุ่นที่ปลูกในต่างประเทศ เพราะจะออกดอกติดผลได้ภายในระยะเวลา 1 ปี ดังนั้นการตัดแต่งจะกระทำได้เมื่อองุ่นที่ปลูกมีอายุเพียง 7 – 8 เดือน แต่ทั้งนี้ก็ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ที่ปลูก ดินฟ้าอากาศและชนิดพันธุ์ที่ปลูกประกอบด้วยการแต่งและตัดเถาองุ่น แบ่งได้ 2 ประการ คือ

1. แต่งและตัดเพื่อให้องุ่นที่ปลุกแตกกิ่งก้านสาขาได้รูปทรงเข้ากับหลักหรือค้างที่ทำไว้

2. แต่งและตัดเพื่อบังคับให้องุ่นแตกกิ่งออกดอกติดผลตามความต้องการ

การแต่งและตัดตามข้อ 1 เพื่อให้ได้รูปทรงตามความต้องการ ต้องดำเนินการตั้งแต่ปลูก หากองุ่นที่ปลูกไม่แข็งแรงให้ตัดต้น เหลือตาเพียง 2 – 3 ตา เมื่อแตกกิ่งจากตาแล้วตัดกิ่งออกเหลือกิ่งที่ แข็งแรงเพียง 1 กิ่ง เพื่อใช้เป็นเถาใหญ่ ต้องคอยเด็ดกิ่งแขนงข้าง ๆ ออกให้เหลือแต่ยอดเถาเดียว ผูกเถากับค้างหรือหลัก ให้ยึดเกาะเมื่อเถาเจริญเติบโตเป็นสีน้ำตาล ก็ตัดยอดหรือปลายของเถานั้นตามความต้องการตามปกติจะต้องตัดเหลือแค่ลวดเส้นล่าง องุ่นจะแตกกิ่งจากตาปลายแถวเป็นหลายกิ่ง เลือกตัดให้เหลือ 1 – 2 กิ่ง ซึ่งจะเป็นแขนงขององุ่น มัดกิ่งแขนงนี้เข้ากับค้างตามความต้องการการแต่งและตัดตามข้อ 2 เพื่อบังคับให้ออกผลนั้นต้องดำเนินการเมื่อองุ่นขึ้นค้างเข้ารูปทรงตามข้อ 1 แล้ว วิธีการคือ เมื่อกิ่งแขนงเจริญเติบโตจนยาวให้ตัดยอดของแขนงนั้นออก เหลือไว้ตามที่ ต้องการโดยคำนึงถึงระยะของต้น ขนาดของค้าง และหลักที่ทำไว้ซึ่งกำหนดไว้ว่าจะมีตาแตกจากแขนงนี้กี่ตา เมื่อตาบนแขนงนี้แตกเป็นกิ่งเจริญเติบโตจนเป็นกิ่งแก่มีสีน้ำตาล ให้ตัดกิ่งให้สั้นเป็นตอกิ่ง มีตาเหลือ 2 – 3 ตา เพื่อให้เกิดกิ่งจากตาของตอกิ่งที่เหลือไว้ กิ่งที่เกิดเมื่อสมบูรณ์แข็งแรงจะออกดอกติดผลเมื่อออกผลแล้วต้องเลี้ยงกิ่งนี้ไปจนเป็นกิ่งแก่จึงตัดให้สั้นเข้าเหลือตาไว้ 2 – 3 ตา เพื่อให้เป็นตอกิ่ง ซึ่งจะแตกกิ่งต่อไป และกิ่งที่แตกนี้เจริญเติบโตแข็งแรงก็จะออกดอกติดผลการตัดแต่งกิ่ง ถ้าเห็นว่างอกกิ่งมากเกินไป ควรตัดออกบ้างเพื่อมิให้แยกอาหาร กิ่งที่ตัดออกนี้ หากเป็นกิ่งแก่สามารถนำไปปักชำเป็นพันธุ์ต่อไป การเด็ดตาตาที่แตกเป็นกิ่งซ้อนขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่มีประโยชน์ควรตัดทิ้งยิ่งเห็นว่าเป็นตาที่ไม่สมบูรณ์ควรรีบตัดทิ้งไปการตัดมือความจริงมือขององุ่นมีไว้เพียงเพื่อยึดเกาะรับน้ำหนักของกิ่ง ถ้ามากเกินไปควรตัดทิ้ง หากปล่อยไว้ก็จะแย่งอาหาร และเมื่อองุ่นตาย จะแกะมือออกค่อนข้างยากอายุการตกผลและการเก็บผลองุ่น ตามปกติองุ่นจะตกผลปีละครั้ง สำหรับองุ่น ในเมืองไทย หากต้นแข็งแรงเจริญเติบโตดีจะให้ผลในระยะ 1 ปี การตกผลจะราวต้นเดือนกันยายน – ตุลาคม และแก่เก็บได้ราวปลายเดือนธันวาคม – มกราคม สำหรับองุ่นที่ตกผลปีละ 2 ครั้งนั้นจะตกผลในเดือนกันยายนถึงตุลาคม ผลจะแก่เก็บได้ ในเดือนธันวาคม – มกราคม และจะตกผลในครั้งที่สองเดือนกุมภาพันธ์ ผลจะแก่เก็บได้ในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์การบำรุงรักษาสภาพพื้นที่รวมทั้งดินฟ้าอากาศ อายุขององุ่น หากบำรุงรักษาเป็นอย่างดี สามารถจะออกผลได้นานถึง 50 – 60 ปี ส่วนการที่องุ่นจะเริ่มตกผลเมื่ออายุ 1 ปีนั้นจะเกิดขึ้นเฉพาะองุ่นที่ขยายพันธุ์ด้วยการตัดกิ่ง ปักชำ ติดตา ทับกิ่ง ต่อกิ่งและตอนส่วนการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดจะตกผลเมื่ออายุ 3 – 4 ปี

ที่มาhttp://www.thaigrape.org/html/4_1_7.html